===Not Click=== ===Not Click===

พระรอดพิมพ์ใหญ่ วัดมหาวันวนาราม จังหวัดลำพูน พระเบญจภาคี

ตำหนิพระรอด พิมพ์ใหญ่ วัดมหาวันวนาราม จังหวัดลำพูน

เซียนพระแนะนำให้สังเกตุจากตำหนิ 10 จุด ตามภาพที่แสดง ซึ่งบางตำแหน่งอาจเพี้ยนไปตามกาลเวลา หากครบ 10 บวกกับข้อสังเกตุอีก 18 ข้อ (ด้านล่างภาพ) ถือว่าเป็นพระสมบรูณ์


๑ ไข่ปลาทีปลายโพธิ์แฉก (แต่บางบล็อกไม่ปรากฎส่วนน้อย)
๒ พระเนตรด้านขวาองค์พระมีลักษณะคล้ายกับเม็ดงาดำ
๓ โพธิ์สมมุติมีลักษณะคล้ายพีรามิดหรือคมขวาน (บางพิมพ์ก็ไม่คมแล้วแต่บล็อกพิมพ์)
๔ พระกรรณด้านซ้ายองค์พระเป็นขอเบ็ด
๕ โพธิ์สมมุติมีลักษณะเป็นร่องหรือแอ่ง
๖ พระนาภีร์ เป็นเบ้าคล้ายพิมพ์ขนมครก
๗ ปากตะขาบหรือหัวงู
๘ ในฐานกระดานชั้นที่หนึ่งด้านในจะมีลักษณะเส้นแซมเล็กๆ ปรากฎ
๙ มีเส้นแซมเล็กปรากฎใต้ฐานอาสนชั้นที่หนึ่ง
๑๐ อาสนชั้นที่สามจะไม่คมชัดเท่าฐานที่หนึ่ง
๑๑ โพธิ์ขอเบ็ดด้านบนก้ามโพธิ์จะเป็นรูปขอเบ็ด กลางใบโพธิ์มักเป็นร่องด้านข้างมีคมคล้ายสมอเรือ
๑๒ มีพระอุมาโลมปรากฎที่พระนาสาฎ ในกรณีพิมพ์ที่ชัดเจน โดยเฉพาะพิมพ์เทวดาชัดเจนมาก
๑๓ พระเนตรด้านซ้ายองค์พระจะมีลักษณะคล้ายน้ำตาพระเนตรไหลออกมา
๑๔ พระโอษฐ์ปากจู๋คล้ายปลากัด
๑๕ ข้อพระกรด้านซ้ายองค์พระมีลักษณะคล้ายๆ ตัวยู U หรือตัววีคว่ำ
๑๖ เส้นน้ำตกที่หนึ่งมีลักษณะคล้ายตัว วาย (y) คว่ำ
๑๗ เส้นน้ำตกใต้ฐานที่หนึ่งเป็นสามเส้นติดกัน เส้นที่สามจะหักมุมออกทางขวามือเรา
๑๘ ฐานพระ มีลักษะสองลักษณะคือฐานแบบก้นแมลงสาบ และฐานพับ

ข้อมูลเพิ่มเติมนอกจาก ตำหนิทั้ง 18 ข้อดังกล่าว ยังมีปีกย่อย เป็นส่วนประกอบ ดังนี้

๑ เนื้อพระอยู่โซนไหน หยาบมาตรฐาน/ละเอียด
๒ ความเก่า คราบกรุ ฝังลึก คราบสนิมไข แคลเซี่ยม ของแต่ละพิมพ์
๓ ตำหนิพระกร ในพระกรแต่ละข้าง เอกลักษณะของแต่ละพิมพ์
๔ การวางพระกร สง่างาม ไม่เหมือนพระถอดพิมพ์
๕ ฟอร์มของโพธิ์เป็นอย่างไร ช่องไฟต่างๆ (space)
๖ ธรรมชาติในผิวของพระรอด พิจารณาตามสิ่งแวดล้อมที่พระรอดบรรจะในหม้อ นอกหม้อ ราดำ ราน้ำตาล แร่ธาตุในดิน 16 ชนิด การกัดเซาะผิวพระรอด

สำหรับข้อมูลในการดูประกอบพิจารณาพระรอด พิมพ์ใหญ่ วัดมหาวันวนาราม จังหวัดลำพูน ก็มีเพียงเท่านี้


0 comments:

Post a Comment